บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2019

-คน 7,626 คนมีทรัพย์สิน 2.1 ล้านล้านบาท คน 12.2 ล้านคน มีเงินในบัญชีไม่เกิน 500 บาท-

รูปภาพ
น่าจะดูแปลกอยู่หน่อยๆ ที่รีวิวนิตยสาร แถมเป็นนิตยสารการเงินการธนาคารที่เฉพาะกลุ่มมากๆ ไม่ครับ ผมไม่ได้จะรีวิวนิตยสารทั้งฉบับ โดยมากผมสนใจนิตยสารการเงินการธนาคารเฉพาะเดือนธันวาคม เพราะเป็นฉบับที่ทำการจัดอันดับมหาเศรษฐีหุ้นไทย 500 คนแรก นี่จึงไม่ใช่การรีวิว แต่เป็นการบอกเล่าข้อมูลความร่ำรวยของเหล่าเศรษฐีหุ้นเมืองไทย (เนื้อหายาวพอสมควร) เริ่มจากตัวเลขนี้ก่อนเลย ภาพรวมเศรษฐีหุ้นไทยปี 2562 วัดจากผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ก่อนวันที่ 30 กันยายน 2562 มีจำนวน 7,626 คน มูลค่าหุ้นของคน 7 พันกว่าคนนี้รวมกันเท่ากับ 2,127,895 ล้านบาท ส่วนมูลค่าจีดีพีของไทยปี 2561 อยู่ที่ 16.3 ล้านล้านบาท ก็ลองเทียบกันดูเองนะครับ ส่วนปันผลที่คนเหล่านี้ได้ไปคือ 60,060 ล้านบาท

-อ่านการ์ตูนแบบซีเรียส: เมื่อรัฐสร้างศัตรูเพื่อคุ้มกะลาหัวตัวเอง-

รูปภาพ
หนังสือการ์ตูนหรือที่เรียกว่า มังงะ (คือสมัยผมเด็กๆ ยังไม่รู้จักคำนี้) เราสามารถอ่านมันได้หลายแบบ ผมเชื่อด้วยว่ามังงะเล่มเดียวกัน หากในช่วงเวลา วัย หรือสถานที่ที่แตกต่างกัน ความสนุก อารมณ์ ความรู้ที่ได้ก็น่าจะแตกต่างกัน ผมก็เหมือนคนเจนเอ็กซ์ทั่วไปที่เติบโตมากับหนังสือการ์ตูนที่สมัยนั้นยังไม่ติดลิขสิทธิ์เหมือนเดี๋ยวนี้ เรื่องที่ชอบคงไม่พ้นโดราเอมอน เซ็นต์เซย่า ดราก้อนบอล ประมาณนี้ แต่ความหลากหลายของประเภทมังงะ วิธีการเล่าเรื่อง ลายเส้น พล็อตเรื่องในปัจจุบันมีมากมายกว่าการรับรู้ของผมในวัยเด็กมากต่อมาก ซึ่งผมก็เพิ่งมารู้จากหนังสือเล่มนี้ Theories of Manga ของกฤดิกร วงศ์สว่างพานิช โดยสำนักพิมพ์ SALMON เป็นหนังสือที่ว่าด้วยการอ่านมังงะแบบซีเรียสจริงจังตามสไตล์นักวิชาการ แต่มันก็สนุกครับ บทต้นๆ พูดถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมังงะและพูดถึงวิธีที่ผู้เขียนใช้อ่าน หลังจากนั้นก็เป็นการเล่าถึงมังงะแต่ละเรื่องผ่านแว่นวิชาการมิติต่างๆ ที่ชวนสนใจ เผลอๆ ส่วนที่เป็นมิติวิชาการจะน่าสนุกกว่าตัวมังงะด้วยซ้ำ

-ความหวังและการรอคอยที่ไร้ค่า ณ ทุ่งร้างตาร์ตาร์-

รูปภาพ
' ทุ่งร้างตาร์ตาร์ ' ของดิโน บุซซาติ แปลโดยอัมรา ผางน้ำคำ ของไลต์เฮาส์ พับลิชชิ่ง เป็นหนังสือที่เกินความคาดหมายเมื่อแรกซื้อไปมาก แค่เปิดอ่านหน้าสองหน้าแล้วลื่นไหลดี บวกกับชื่อหนังสือที่จับคู่กับภาวะอารมณ์ ณ เวลานั้น ผมจึงกลายเป็นเจ้าของ ทุ่งร้างตาร์ตาร์พูดถึงชีวิตของนายทหารหนุ่ม-จิโอวานนิ โดรโก เขาถูกส่งไปประจำการ ณ ป้อมปราการบาสติอานิอันห่างไกลจากผู้คนและเมืองแมน ครั้งแรกที่เขาเห็นป้อมปราการ เขาบอกกับตัวเองว่าจะต้องไปจากที่นี่ให้ได้ จะไม่ยอมทิ้งชีวิตและอนาคตในอาชีพไว้กับกองหินกองนี้ ที่นั่น โดรโกพบเจอนายทหารอายุมากจำนวนหนึ่งที่ชีวิตฝังจมกับความหวังลมๆ แล้งๆ ว่าสักวันหนึ่งจะมีข้าศึกบุกเข้ามา วันนั้นแหละที่พวกเขาจะได้ทำหน้าที่สมกับชายชาติทหาร เพียงมีเงาที่ผิดปกติในทุ่งร้างทางเหนือ เหล่าทหารในป้อมก็จะรู้สึกตื่นเต้น คาดเดาไปต่างๆ นานา และหวังแล้วหวังเล่าว่าการบุกรุกจะมาในไม่ช้า โดรโกเห็นว่าช่างเป็นเรื่องไร้สาระ

-โดราเอมอน โลกจินตนาการกับความฝันวัยเด็กของผมที่ไม่รู้ว่ามีอยู่-

รูปภาพ
ถ้านับอายุอานาม ‘ โดราเอมอน ’ แก่กว่ามังงะดังๆ หลายเรื่อง ในแง่ยอดขายก็คงเทียบชั้น One Piece ที่ 455 ล้านเล่มไม่ได้ ในแง่ลายเส้น ความแปลกใหม่ พล็อต และการวางเส้นเรื่องก็น่าจะสู้มังงะรุ่นใหม่กว่าไม่ได้อีกเหมือนกัน ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ผมเชื่อว่าโดราเอมอนเป็นมังงะที่อยู่ในใจใครหลายคน มันช่วยกระตุ้นจินตนาการ ต่อเติมความฝันวัยเด็กของผมและเด็กๆ ให้ผลิบาน การเดินทางในอวกาศ มนุษย์ต่างดาว ไดโนเสาร์ อาณาจักรซ่อนเร้นที่หลงเหลือบนโลกใบนี้ แถมยังตั้งคำถามถึงวิทยาศาสตร์ในอนาคต คิดว่าทำไมโนบิตะไม่ใช่โดเรมอนทำให้ตัวเองร่ำรวยขึ้นมา คิดว่าทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่จับโดราเอมอนไปทดลอง ถ้ามีประตูไปที่ไหนก็ได้จริงๆ ธุรกิจโลจิสติกส์จะพังทลายไหม ถ้าเดินทางข้ามกาลเวลาได้จริง ผมก็อยากย้อนไปในยุคอยุธยาเพราะอยากรู้ว่าคนยุคนั้นอยู่กินกันยังไง และอื่นๆ อีกมากไม่จบสิ้น โดราเอมอนตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อธันวาคมปี 2512 (ก่อนผมเกิดอีก) โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง อย่างที่รู้กัน เรื่องราวหลักๆ ในโดราเอมอนคือการช่วยโนบิตะแก้ปัญหาสารพัน เสนอเป็นตอนสั้นๆ กับสารพัดของวิเศษ (หรือจะเรียกว่าเทคโนโลยีจากอนาคตดี?)

-เรื่องราวหลากสีสันในราชวงศ์ชิง จากรุ่งโรจน์แล้วร่วงโรย-

รูปภาพ
เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์จีน ช่วงเวลาที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือยุคชุนชิว-จ้านกว๋อหรือในยุคที่รัฐต่างๆ ยังไม่ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยราชวงศ์ฉิน กับอีกยุคหนึ่งคือยุคปลายราชวงศ์ชิง เมื่ออาณาจักรที่คิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของโลกถูกท้าทายจากอำนาจของเรือปืนและการล่าอาณานิคมจากซีกโลกตะวันตก ผมรู้สึกว่าประวัติศาสตร์จีนในรูปแบบงานวิชาการหรือกึ่งวิชาการยุคชุนชิว-จ้านกว๋อหาอ่านไม่ค่อยได้ มักจะเป็นพงศาวดารเสียมากกว่า ขณะที่ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ชิงมีให้อ่านมากกว่า หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นหนังสือวิชาการที่พูดถึงหลายมิติ ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โครงสร้างการปกครอง วรรณคดี ไปจนถึงปรัชญา มีผู้เขียนหลายคน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชวนอ่าน ซึ่งผมจะขอพูดถึงส่วนที่ผมชอบเป็นหลักคือส่วนของประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ชิงคือชาวแมนจู ไม่ใช่ชาวฮั่น มีถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ถูกชาวฮั่นเรียกว่า จิน ถ้าใครเคยอ่านมังกรหยกซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งคงคุ้นเคยกับเผ่าจินหรือกิม ที่ต่อมาถูกปราบโดยชาวมองโกลที่เข้ามามีอำนาจปกครองจีนในนามราชวงศ์หยวน ก่อนจะพ่ายแพ้ให้กับจูหยวนจาง ผู้ซึ่งขึ้นเป็