บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2019

-เพียงความเพ้อฝันที่จะมีความสุข-

รูปภาพ
ต้องบอกก่อนว่าผมไม่ได้ทำบล็อก WanderingBird และเพจ WanderingBook เพื่อบอกเล่าถึงหนังสือที่อ่านอย่างเดียว ผมมีความเชื่อว่ากระแสหนังสือที่ออกมาสะท้อนความเป็นมาเป็นไปของสังคมในช่วงเวลานั้นๆ ประเภทของหนังสือจึงบอกเล่าเรื่องราวสังคมโดยตัวมันเอง และผมก็เลือกจะวิพากษ์วิจารณ์กระแสของหนังสือที่หลั่งไหลออกมา แน่นอนที่สุด ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับผม ผมเคยซื้อหนังสือที่ว่าด้วย ‘ อิคิไก ’ มาอ่าน จากคำโปรยและการจัดรูปเล่มดูน่าอ่าน น่าสนใจ แต่เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ ความสนใจก็ลดน้อยลง อ่านจบ ผมก็แทบจำอะไรไม่ได้เลย หลังจากนั้นไม่นาน ผมไปเดินร้านหนังสือคิโนะฯ ที่สยามพารากอน สายตาเหลือบเห็นหนังสือภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า Lagom แล้วก็อ่านคำโปรย แม่นยังกะหมอดู ผมคิดว่าเดี๋ยวต้องมีคนแปลหนังสือหัวข้อนี้ออกมาแน่ๆ แล้วก็เป็นจริง มันชวนคิดและน่ากลัวอยู่เหมือนกันที่มนุษย์เราอยากมีความสุข แต่กลับไม่รู้ว่าจะมีมันได้อย่างไร จนต้องหันไปหาหนังสือที่แนะนำวิธีที่จะทำให้เรามีความสุข

-เมื่อเราฆ่ากันในนามศาสนา เราจะไม่ปราณีและออมมือ-

รูปภาพ
ต้องบอกว่า สำหรับผมนี่คือหนังสือประวัติศาสตร์ศาสนาที่ถักทอเรื่องราวความเป็นมาของศาสนาได้น่าสนใจและสนุกสนาน ดีงามอย่างไร ? A Little History of Religion หรือ ศาสนา ประวัติศาสตร์ศรัทธาแห่งมวลมนุษย์ อธิบายบ่อเกิดศาสนาหลักของโลก ศาสนาอื่นๆ ที่มีผู้คนนับถือไม่มาก จนถึงศาสนาใหม่ๆ ลัทธิ-นิกายใหม่ๆ แต่ถ้าแค่เล่าประวัติก็คงไม่ต่างจากหนังสือเรียนดาษดื่น ความคมคายของมันคือการชี้ให้เห็นแนวคิดต่างๆ ที่เป็นจุดเปลี่ยนหรือจุดพลิกผันของรากฐานความเชื่อของศาสนานั้น (ส่วนใหญ่กล่าวถึงศาสนาที่มีพระเจ้า) ความแหลมคมอีกประการคือการตั้งคำถามกับศาสนาอย่างท้าทาย หลายคำถามไม่เคยนึกถึงมาก่อน เช่น ความรุนแรง การเมือง ศาสนาเป็นยาฝิ่นจริงหรือ เป็นต้น อ่านแล้วก็ให้รู้สึกว่า ผู้เขียนต้องใคร่ครวญกับเรื่องนี้มาอย่างลึกซึ้ง

-ปรีดี หงษ์สต้น : พุทธจัดในสงครามกลางเมืองศรีลังกาและพุทธไทยที่ยังไม่จัด?-

รูปภาพ
(หลังเล่าถึงหนังสือ ' สงครามกลางเมืองศรีลังกา‘ ผมก็มีโอกาสได้สัมภาษณ์อาจารย์ปรีดี หงษ์สต้น ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ สนทนากันตามชื่อหนังสือและย้อนมองกลับมาที่สังคมไทย เผื่อใครอยากฟังความเห็นของอาจารย์ปรีดีเพิ่มเติม บอกไว้ก่อนว่ายาวมาก) รายงานบทสัมภาษณ์ ' ปรีดี หงศ์สต้น ' มองประวัติศาสตร์และพุทธศาสนาที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองศรีลังกา การเมืองและผลประโยชน์ในคณะสงฆ์กลุ่มต่างๆ การใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อหาเสียงซึ่งเท่ากับปล่อยยักษ์ออกจากตะเกียงและไม่อาจควบคุมได้ และบทเรียนทางประวัติศาสตร์นี้ไทยควรเรียนรู้อะไร

-เราควรโกรธอย่างไร? ทางสายกลางแบบอริสโตเติ้ล-

รูปภาพ
ชื่อหนังสือเหมือนจะเป็นแนว how to ไม่ใช่ มันคือการย่อยความคิดของยักษ์ปรัชญานามอริสโตเติ้ลให้อ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษของผมเปราะบางเกินกว่าจะอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างลื่นไหล เวลาจำนวนหนึ่งหมดไปกับการหาความหมายของคำศัพท์ ถึงกระะนั้นก็น่าจะคุ้มค่ากับความพยายาม ผมอ่านไปได้เพียง 20 หน้า สิ่งที่อยากเล่าคือทำไมผมจึงสนใจหนังสือเล่มนี้ คนที่สนใจปรัชญาจริยศาสตร์ต้องเคยได้ยินการสร้างมาตรวัดทางศีลธรรมของเหล่านักปรัชญา ที่คุ้นเคยกันมากหน่อยคือแนวอรรถประโยชน์นิยมที่เชื่อว่าความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แนวคิดนี้มุ่งที่ผลลัพธ์เป็นหลัก อีกแนวคิดหนึ่งคือหน้าที่นิยมของค้านท์ที่เชื่อว่าศีลธรรมมีเกณฑ์ที่แน่นอน มนุษย์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม   การกระทำทางศีลธรรมเราต้องคิดเสมอว่าสิ่งนั้นจะเป็นกฎทั่วไปได้หรือไม่และเราควรปฏิบัติต่อมนุษย์โดยไม่มองว่าเป็นเป้าหมายเพื่อให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการเท่านั้น แนวคิดแบบค้านท์จึงสนใจทั้งวิธีการและผลลัพธ์ ...เป็นความรู้ที่ผมจะมีบ้างเล็กน้อย

-'ไม่มีความตายในอุดมคติ' เราไม่ได้เลือกความตาย ความตายต่างหากที่เลือกเรา-

รูปภาพ
คุณมีประสบการณ์เกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อไหร่? สำหรับผม ความตายครั้งแรกที่ผมเข้าไปสัมผัสชนิดถึงเนื้อถึงตัวคือการตายของคุณยาย ท่านอยู่ในสภาพติดเตียงมานาน ค่ำวันหนึ่ง ผมเข้าไปในห้องที่ท่านนอนอยู่ สังเกตเห็นความนิ่งงันที่ไม่เคยพบ ผมเดินไปที่ร่างของท่าน เอามือแตะที่ท้องและลองกดดู มันแข็ง เหมือนก้อนเนื้อก้อนหนึ่งที่วางอยู่ตรงนั้น ผมเดินออกไปบอกแม่ว่า อาม้าไปแล้ว ด้วยธรรมเนียมของคนจีน พวกเราช่วยกันเปลี่ยนเสื้อผ้าให้อาม้า ปูเสื่อ กางมุ้งให้ท่านนอน จุดธูป 1 ดอก และผมเป็นคนนอนเฝ้าศพท่านอยู่ข้างๆ ในบางขณะผมกลัว จากนั้นก็รู้สึกเฉยๆ และหลับไป ครั้งต่อมาคือต้นเดือนมกราคมปี 2548 หลังเหตุการณ์สึนามิเพียงสัปดาห์กว่าๆ ผมถูกส่งตัวไปเขาหลัก จังหวัดพังงา เพื่อเขียนสกู๊ป ขณะที่นั่งรถผ่านวัดเขาหลักซึ่งเป็นที่เก็บศพผู้เสียชีวิต กลิ่นของศพจำนวนมากอบอวลไปทั่ว ผมยังคงจดจำได้จนถึงวันนี้ ผมเรียกมันว่า กลิ่นของความตาย

-'เจ้าผู้ปกครอง' การเป็นคนดีไม่สำคัญเท่ากับการเสแสร้งเป็นคนดี-

รูปภาพ
เป็นอีกเล่มที่เปิด-ปิดหลายรอบ เพราะความฟุ่มเฟือยของเชิงอรรถ เพื่อให้การอ่านราบรื่น ผมเลือกข้ามเชิงอรรถไปเสีย กล่าวกันว่าเพลโต้ดึงการเมืองขึ้นไปสู่สวรรค์ มาเคียวเวลลีกระชากมันกลับลงมาสู่พื้นดิน 'เจ้าผู้ปกครอง' จึงถูกปักหมุดให้เป็นจุดเปลี่ยนของปรัชญาการเมืองที่ถูกครอบงำด้วยแนวคิดคลาสสิกแบบเพลโตมาหลายพันปีที่เห็นว่า เจ้าผู้ปกครองต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นปราชญ์ มาเคียวเวลลี่กลับเห็นว่าเจ้าผู้ปกครองที่มุ่งแต่จะเป็นผู้มีคุณธรรมคือเจ้าผู้ปกครองที่โง่เขลาและต้องประสบความพินาศย่อยยับ จากความเข้าใจของผม เจ้าผู้ปกครองจะเป็นคนดีก็ได้ มันก็ดีแหละ ในเวลาเดียวกันต้องรู้ด้วยว่าจะชั่วร้ายในจังหวะเวลาใด มนุษย์ในมุมมองของมาเคียเวลลี่ช่างชั่วร้าย (ไม่รู้ว่าเป็นต้นทางให้ฮ็อบส์คิดดั่งที่ปรากฏในเลอไวอะธันหรือเปล่า?) ทว่า การเป็นคนดี ไม่สำคัญเท่าการทำให้ผู้อื่นเห็นว่าเป็นคนดี

-พุทธจัดในศรีลังกาและการฆ่าในนามของศาสนา-

รูปภาพ
น่าจะต้องเกริ่นก่อนว่า ถ้าคุณเป็นผู้ศรัทธาต่อพุทธศาสนาอย่างหนักแน่นและยากจะทนการวิพากษ์วิจารณ์ได้ การบอกเล่าเรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ผ่านมุมมองของผมอาจทำให้ขุ่นเคืองใจ ผมเป็นคนที่สนใจประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมและความขัดแย้ง ความรุนแรง ที่เกิดจากศาสนา 'THE SRI LANKAN CIVIL WAR' หรือ 'สงครามกลางเมืองศรีลังกา' ของปรีดี หงษ์สต้น ก็เลยตอบโจทย์ความสนใจ รีบซื้อ รีบอ่าน หนังสือเล่มนี้บอกเล่าประวัติศาสตร์ศรีลังกาช่วงอาณานิคมไล่มาจนถึงการเกิดสงครามกลางเมืองที่กินเวลเกือบ 4 ทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1973 และจบลงในปี 2009 เมื่อรัฐบาลของมหินทะ ราชปักษ์ สามารถสังหารเวลุปิลไล ประภาการัน ผู้นำกองกำลังปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีลัมได้สำเร็จ