บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2020

-ขีดลมเป็นพรมแดน สร้างศรัทธาเป็นกำแพง-

รูปภาพ
อาหารอันโอชะของสงครามและการเข่นฆ่ามีอะไรบ้าง? ความโกรธ ความโลภโมโทสัน ความต้องการอำนาจ ศักดิ์ศรี ดูจะเป็นคำตอบพื้นฐาน แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือศรัทธาในนามของศาสนา ‘The Night Diary’ หรือ ‘ ถ้าแม่ฟังอยู่โปรดรู้ว่าหนูคิดถึง ’ โดยสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน ผู้เขียนคือวีรา หิรานันดานิ แปลโดยแพน พงศ์พนรัตน์ ผมว่าชื่อภาษาไทยความหมายไม่ค่อยตรงกับชื่อภาษาอังกฤษเท่าไหร่ และดูจะไม่ค่อยเข้ากับเนื้อหานัก หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวการเดินทางของเด็กหญิงณิชาวัย 12 ขวบกับครอบครัวที่มีพ่อ ดาดีหรือย่า และน้องชาย-อมิล ทั้งหมดเป็นชาวฮินดู จะเรียกว่าการเดินทางอาจไม่ตรงนัก เราควรจะเรียกมันว่าการอพยพหนีตายเสียมากกว่า

-การอ่านเปลี่ยนชีวิตและชีวิตก็เปลี่ยนการอ่าน-

รูปภาพ
จำได้ว่าตอนให้คนรับซื้อของเก่าขึ้นมาเอาคอมพ์ที่ห้อง พอเขาเห็นกองหนังสือก็ถามขึ้นว่า “นี่ไม่ขายเหรอ ?” ผมมองหน้าเขาเลิกลั่กก่อนจะยิ้ม “ไม่ขายครับ” อันที่จริงมันเคยเป็นระเบียบกว่านี้ ดูยุ่งเหยิงเพราะผมกำลังเคลียร์หนังสือที่คิดว่าจะไม่อ่านให้กับห้องสมุดหรือคนที่อยากอ่าน กองหนังสือตรงมุมล่างขวาคือส่วนที่ผมแยกออกมาเพื่อบริจาค มีตั้งแต่หนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ปรัชญา วิชาการ วรรณกรรม ฮาว ทู และอื่นๆ ในกองนี้มีหนังสือรวบรวมบทสัมภาษณ์และปาฐกถาของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล สามสี่เล่ม และผมยังไม่ได้อ่านเลยด้วยซ้ำ

-เมื่อระบอบกษัตริย์ชั่วร้าย ‘สามัญสำนึก’ จึงนำอเมริกาปลดแอกจากอังกฤษ-

รูปภาพ
เรามาเริ่มกันก่อนว่า ‘Common Sense’ หรือ ‘ สามัญสำนึก ’ ของโธมัส เพน แปลโดยภัควดี วีระภาสพงษ์ สำนักพิมพ์ bookscape สำคัญอย่างไร? มันสำคัญขนาดที่จอห์น อดัมส์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น 1 ในบิดาผู้สร้างสหรัฐอเมริกา ถึงกับกล่าวว่า “หากปราศจากปากกาของผู้เขียนสามัญสำนึก ดาบของ (จอร์จ) วอชิงตันก็คงกวัดแกว่างอย่างสูญเปล่า” พูดได้ว่าถ้าไม่มีหนังสือเล่มนี้ การปฏิวัติอเมริกาเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอังกฤษอาจไม่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นเนิ่นช้ากว่านั้น หมายถึงประวัติศาสตร์โลกมีโอกาสที่จะมีหน้าตาต่างจากที่เราเห็นทุกวันนี้

-นั่งคุยกับต้นไม้-

รูปภาพ
ลองตอบคำถามเหล่านี้ดู คุณคิดว่าต้นไม้มีภาษาไว้คุยกันไหม? ต้นไม้มีเพื่อนและมีคู่แข่งหรือเปล่า? ต้นไม้ต้องเรียนไหม? ต้นไม้เจ็บปวดเป็นไหม? ต้นไม้อพยพตัวเองได้หรือเปล่า?