บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

เตรียมตัวตายกันเถอะ

รูปภาพ
ความตายเป็นปริศนาชั่วนิรันดร์ของมนุษย์ เราพยายามหาคำตอบว่ามีอะไรรอเราอยู่หลังความตาย ตามที่ผมเข้าใจมี 2 หนทางที่มนุษย์ใช้แสวงหาคำตอบ-ศาสนาและวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่ได้ติดตามเรื่องราวความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ แต่วิทยาศาสตร์น่าจะไขความลับสภาวะใกล้ตายและจุดที่เรียกว่าตายกันทะลุปรุโปร่งพอสมควรแล้ว แล้วหลังความตายล่ะ? ผมเดาว่าวิทยาศาสตร์ยังคงหาคำตอบไม่ได้ ศาสนาจึงเข้ามารับบทบาทหลักในการหาและให้คำตอบแก่เหล่าผู้ศรัทธา ซึ่งแตกต่างกันไปตามแนวทางความเชื่อ ส่วนสายวัตถุนิยมหรือผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจมองว่า ตายแล้วคือจบ ไม่มีอะไรหลังจากนั้น เอาล่ะ ไม่ว่าใครจะมีคำตอบหลังความตายอย่างไร ทว่า สิ่งที่น่าจะเหมือนๆ กันสำหรับมนุษย์ส่วนใหญ่คือเรากลัวตาย

อยู่กับความหลากหลาย: รู้จักและตั้งคำถามเชิงปรัชญากับศาสนาอิสลาม

รูปภาพ
ผมคาดว่าการรีวิวหนังสือเล่มนี้น่าจะส่งผลบางอย่าง ไม่ว่าจะบวกหรือลบ ไม่ว่าจากผู้ที่นับถือศาสนาใด เพราะผมทั้งบอกเล่าและตั้งคำถามแม้ว่าจะไม่มีเจตนาร้ายก็ตาม และดังนั้น ผมจึงยืนยันถึงเสรีภาพในการแสดงออกและพร้อมสนทนาแลกเปลี่ยน ผมรู้ดีว่ามีคนไทยจำนวนไม่น้อย รวมถึงพระ เกลียดกลัวศาสนาอิสลามและชาวมุสลิม ทั้งเหตุการณ์ 9/11 ขบวนการไอเอสในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เพาะบ่มความเกลียดกลัว และถ้าคุณติดตามความเคลื่อนไหวในเพจที่ชูประเด็นการปกป้องพุทธศาสนาบางเพจที่บางครั้งก็ให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับชาวมุสลิม ทั้งหมดนี้ทำให้ผมเข้าใจได้ว่าทำไมผู้คนจำนวนหนึ่งจึงมีอาการเกลียดกลัวมุสลิม (Islamophobia) และที่มักเข้าใจผิดกันมากก็คือ มุสลิม เหมือนกันหมดทั้งโลก ใช่, ศาสนาอิสลามมีคำสอนและหลักปฏิบัติบันทึกในคัมภีร์อัลกุรอาน แต่ชาวมุสลิมไม่ได้เหมือนกันหมดนะครับ แค่ชาวมุสลิมเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ ก็ต่างกันแล้ว ไม่มีศาสนาใดในโลกที่เผยแผ่ไปถึงดินแดนใดแล้วไม่ปรับหรือผสมผสานกับวัฒนธรรมของดินแดนนั้น ประเด็นนี้มานุษยวิทยาบอกได้ชัดเจน

-เราแสวงหาความสุขหรือความหมายที่จะมีชีวิต?-

รูปภาพ
สองสามทศวรรษที่ผ่านมา วงการจิตวิทยาถูกครอบงำด้วย คำว่า 'ความสุข' มีงานวิจัยและหนังสือเกี่ยว กับเรื่องจำนวนมาก ผู้คนก็ดูจะสนใจว่าจะมีความ สุขได้อย่างไร และเวลานี้หนังสือแนะนำวิธีการมีความสุขก็กลับมาบูมอีกครั้ง แต่หนังสือเล่มนี้พยายามโต้ เถียงและเสนอความคิดที่ต่าง ออกไปว่า สำหรับชีวิตแล้ว ความสุขอาจไม่ใช่เป้าหมายที ่สำคัญที่สุด แถมยังตั้งชื่อหนังสือไว้อย่างแดกดันว่า การค้นหาการเติมเต็มในโลกที่หมกมุ่นกับความสุข ผู้เขียนถอยกลับไปยังแนวคิด กรีกคลาสสิกว่าด้วยความสุขแ บบฮีโดเนีย ที่มุ่งไปที่ความสุขทางผัสส ะ กับยูไดโมเนีย  ความสุขที่เกิดจากการใช้ชีว ิตที่มีความหมาย จนถึงความคิดของเจอเรมี เบนแธม ที่เชื่อว่ามนุษย์ถูกผลักดั นด้วยนายเหนือหัว 2 คน ความพึงพอใจและความเจ็บปวด

-เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เต็มไปด้วยอคติ-

รูปภาพ
ด้วยชื่อหนังสือและชื่อสำนักพิมพ์ มันอาจทำให้ผู้เห็นหนังสือเล่มนี้บนชั้นไขว้เขวพอประมาณ มองว่าเป็นหนังสือ How to ที่จะทำให้ผู้อ่านฉลาดขึ้น คิดได้เฉียบคมขึ้นเหมือนกับชื่อหนังสือ คือก็ไม่ได้ผิดอะไรถ้าจะมอง ‘The Art of Thinking Clearly’ หรือ ‘52 วิธีคิดให้ได้อย่างเฉียบคม ’ เขียนโดย Rolf Dobelli แปลโดยอรพิน ผลพนิชรัศมี จากสำนักพิมพ์ WE LEARN ว่าเป็นหนังสือ How to เพราะมันก็มองแบบนั้นได้จริงๆ แต่สำหรับผม นี่เป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งในการตรวจสอบอคติของตนเองเมื่อต้องอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ มากมายที่มักหลอกล่อให้เราหลงเชื่อ หนังสือเล่มนี้พูดถึงอะไร?

-หลังสิ้นบัลลังก์มังกร (2) ไท่ผิงเทียนกว๋อ กบฏชาวนาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน-

รูปภาพ
ในหนังสือ ' หลังสิ้นบัลลังก์มังกร ประวัติศาสตร์จีนยุคเปลี่ยนผ่าน ' เส้าหยงและหวังไท่เผิงไม่ใช้คำว่า กบฏ แต่ใช้คำว่าขบวนการไท่ผิงเทียนกว๋อ ( 太平天国 ) และแสดงออกชัดเจนว่าไม่ยอมรับราชวงศ์ชิง ดังนั้น กบฏไท่ผิงสำหรับผู้เขียนจึงเป็นวีรบุรุษที่พยายามกอบกู้แผ่นดินจีนแต่ไม่สำเร็จและต้องย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก ส่วนผมขอเรียกกบฏไท่ผิง ไม่ได้มีนัยทางการเมืองใดๆ แค่คุ้นเคยกับคำนี้มากกว่า ไม่น่าเชื่อว่ากบฏชาวนาที่ยิ่งใหญ่และยืดเยื้อที่สุดในประวัติศาสตร์จีนมีจุดเริ่มต้นจากคนคนเดียว หงซิ่วเฉวียน ( 洪秀全 ) ชาวอำเภอฮัว มณฑลกวางตุ้ง ชนชั้นชาวนาที่ต้องการถีบตัวขึ้นเป็นข้าราชการ พากเพียรเรียนหนังสือเพื่อสอบจอหงวน ทว่า เขากลับต้องผิดหวังถึง 3 ครั้ง จนถึงกับล้มป่วยตรอมใจ ขณะที่ป่วย เขาฝันว่าตนเองเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของพระเจ้า ซึ่งเท่ากับเป็นน้องของพระเยซู หลังจากหายป่วย เขาทำอาชีพเป็นครูที่บ้านเกิดอยู่หลาย กระทั่งปี 1843 จึงตัดสินเดินทางไปสอบจอหงวนที่เมืองกวางเจาอีกครั้ง ผลลัพธ์ยังเป็นเช่นเดิม