บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020

-ถ้า ‘ศากยมุนี’ ต่อสู้กับ ‘แจ็ค เดอะ ริปเปอร์’? การท้าทายความศักดิ์สิทธิ์-

รูปภาพ
(มีสปอยล์นิดเดียว ไม่มาก) วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศมาพูดถึงมังงะบ้าง คุณจะรู้สึก เอ๊ะ ! หือ? เฮ้ย ! สนใจ หรือน่าสนุกหรือเปล่า ถ้าศากยมุนีหรือพระพุทธเจ้าต้องต่อสู้แบบเอาเป็นเอาตายกับแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ฆาตกรต่อเนื่องแห่งย่าน อีสต์เอนด์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือสู้กับนิโคลา เทสลา ยอดอัจฉริยะนักวิทยาศาสตร์ หรือสู้กับรัสปูติน พ่อมดจอมฉาวแห่งจักรวรรดิรัสเซียก่อนล่มสลาย หรือในทางกลับกัน ถ้ามนุษย์เหล่านี้ต้องต่อสู้กับพระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดแห่งศาสนาฮินดู ธอร์ เทพเจ้าสายฟ้า ท้าวเวสสุวรรณ เจ้าแห่งภูติผีปีศาจ หรืออนูบิส ผู้ทำหน้าที่ดองศพของเทพเจ้าโอซิริสในปกรณัมอียิปต์ ผลการต่อสู้จะออกมาเป็นอย่างไร?

-หรือเราอยู่ในเขาวงกตของโลกเสมือน?-

รูปภาพ
มันดูย้อนแย้งนิดหน่อยที่การพูดถึงหนังสือเล่มนี้อยู่บนเครือข่ายโซเชียล มีเดีย ที่เป็นแกนหลักของ ‘ เศรษฐกิจของการดึงดูดความสนใจ ’ คำที่หนังสือเล่มนี้ใช้ สารภาพว่าก่อนหน้านี้เฟสบุ๊คมีผลต่อสุขภาพจิตอันปรวนแปรของผมมากทีเดียว ทันทีที่ผมเห็นโฆษณาหนังสือเล่มนี้ ผมจึงตัดสินใจซื้อทันทีแบบไม่ยั้งคิด ความแปลกประหลาดของชีวิตคือยังไม่ทันได้รับหนังสือด้วยซ้ำ การใช้เฟสบุ๊คของผมดันน้อยลงไปเองอย่างมีนัยสำคัญ จนไล่ตามกระแสความนึกคิดไม่ออกว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้เวลากับโซเชียล มีเดียวันละหลายๆ ชั่วโมง คุณอาจมีปฏิกิริยาต่อ ‘ ดิจิทัล มินิมัลลิสม์ ’ หรือ ‘Digital Minimalism’ เขียนโดย Cal Newport ผู้แปลคือบุณยนุช ชมแป้น สำนักพิมพ์ broccoli ในเครือมติชน 2 แบบ แบบแรกคือ “แกจะมายุ่งอะไรกับชีวิตฉัน ฉันจะเล่นโซเชียล มีเดีย แค่ไหน ยังไง มันก็เรื่องของฉัน” แบบที่ 2 “ใช่ ฉันใช้เวลากับโซเชียล มีเดียมากเกินไปแล้ว ฉันควรลดการเล่นลง”

Bujo กับการตามหาสิ่งสำคัญในชีวิต

รูปภาพ
ออกตัวก่อนว่า พาดหัวไม่ใช่การการันตีผลลัพธ์ เป็นเพียงการบอกเล่าการตีความของผมจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ เชื่อว่าคนที่ชีวิตยุ่งเหยิงมากๆ มีงานต้องสะสางกองเป็นภูเขาเลากา เขียนบันทึกและใช้แพลนเนอร์อยู่แล้ว รู้จักวิธีการบันทึกแบบ Bullet Journal หรือที่เรียกย่อๆ ว่า Bujo อยู่บ้างแล้ว ส่วนผมไม่รู้จักมันมาก่อนเลยกระทั่งได้อ่านหนังสือเล่มนี้ โปรยปกหน้าที่ว่า ‘ บันทึกอดีต จัดระเบียบปัจจุบัน ออกแบบอนาคต ’ กับโปรยปกหลังที่สื่อในทำนองว่า นี่ไม่ใช่เพียงวิธีการจดบันทึกเพื่อจัดระเบียบความคิดและการทำงาน แต่เป็นมากกว่านั้น เป็นเครื่องมือถามไถ่ถึงความหมายของชีวิต การก้าวเดินไปสู่สิ่งที่เราปรารถนา หรือกระทั่งการค้นพบตัวเอง เหล่านี้ดึงดูดให้ผมสนใจ ‘THE BULLET JOURNAL METHOD’ หรือ ‘ วิถีบันทึกแบบบูโจ ’ ของ Ryder Carroll แปลโดยนรา สุภัคโรจน์ สำนักพิมพ์ BOOKSCAPE ตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของหนังสือผมก็ได้กลิ่นอายของมินิมัลลิสม์และแนวคิดสโตอิก (สรุปรวบรัดคือแนวคิดที่มองว่าโลกนี้เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งเดียวที่เราพอจะควบคุมได้คือจิตใจของเราเองว่าจะตอบสนองกับโลกนี้อย่างไร) คละคลุ้งอยู่ใน