บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2019

-ฟังด้วยหัวใจ มองเห็นความเป็นมนุษย์ของคนที่อยู่ตรงหน้าและของตัวเราเอง-

รูปภาพ
คุณคงเคยเห็นคอร์สอบรมการพูดโผล่ขึ้นมาบนหน้าฟีดบ้าง บางคอร์สหลักหมื่น บางคอร์สก็หลักพัน แต่ทุกคอร์สการันตีว่าถ้าคุณผ่านการอบรม คุณจะพูดได้ดีขึ้นและประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ถ้าเทียบความถี่กันแล้ว คุณเคยเห็นคอร์สอบรมการฟ้งบนหน้าฟีดบ้างไหม? หรืออาจไม่เคยเห็นเลย? คุณน้าของผมตั้งข้อสังเกตไว้น่าสนใจว่า โลกทุกวันนี้มีสอนการพูดเยอะแยะ แต่ไม่ค่อยมีใครสนใจการฟัง ซึ่งก็ไม่น่าผิดข้อเท็จจริงนัก เพราะปริมาณคอร์สและความสนใจของผู้คนระหว่าง 'การพูด' และ 'การฟัง' เป็นสิ่งที่เห็นชัดเจนอยู่ ผมเคยสงสัยว่า ถ้าทุกคนพูดกันหมด แล้วใครล่ะจะฟัง

-ความรักที่ไม่โรแมนติก "ความรักเป็นทักษะ ไม่ใช่ความรู้สึก"-

รูปภาพ
หลายปีมาแล้ว ผมเคยตั้งคำถามกับตัวเอง (เพราะไม่รู้จะถามใคร) ว่า ทำไมบทเพลงส่วนใหญ่มักว่าด้ วยความรัก ทั้งที่บนถนนชีวิตของมนุษย์  ความรักเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ท่ามกลางส่วนผสมมากมาย ตอบกับตัวเองว่าคงมีสาเหตุท างประวัติศาสตร์อะไรสักอย่า งทำให้มันเป็นเช่นนี้ ‘ความสัมพันธ์’ หรือ Relationships จาก The School of Life แปลโดย ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ ผลิตและจำหน่ายโดย B2S เหมือนจะเป็นหนังส ือ How to แต่ไม่ใช่แน่ๆ เนื้อหาไม่ได้บอกว่าเรา ‘ต้อง’ ทำอะไร พร้อมลิสต์รายการ หรือแนะนำให้เอากระดาษออกมา เขียนเป้าหมาย บลาๆๆ อย่างที่หนังสือแนวพัฒนาตัว เองชอบทำ ซ้ำยังมีกลิ่นอายจิตวิทยาแล ะปรัชญาปะปนอยู่ด้วย ช่างเถอะ เอาเป็นว่าหนังสือช่วยให้คำ ตอบกว้างๆ แก่ผมว่า สาเหตุมันเกิดจากลัทธิโรแมน ติกที่ถือกำเนิดขึ้นช่วงกลา งคริสตศวรรษที่ 18 ในยุโรป ก่อนแพร่ระบาดไปทั่วโลกและท ุกอณูของความเสน่หาในจิตใจม นุษย์

-สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ-

รูปภาพ
‘สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ’ นวนิยายรหัสคดีแอบอิงปรัชญา ไสยศาสตร์ ประวัติศาสตร์อันปั่นป่วน และความเชื่อของยุโรปยุคกลาง ฝีไม้ลายมือของอุมแบร์โต เอโก ศาสตราจารย์ด้านปรัชญายุคกลาง แปลโดยคุณภัควดี กล่าวขานอึงคนึงว่า สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ ถูกจัดชั้นเป็นวรรณกรรมคลาสสิกไปแล้วโดยมิต้องพึ่งพากาลเวลา และผมก็ไม่กังขาด้วยว่า นี่คืองานแปลชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคุณภัควดี ผมซื้อหนังสือเล่มนี้มานานแล้วด้วยอาการป่วยของคนเสพติดการซื้อหนังสือ เริ่มต้นอ่านด้วยความครั่นคร้ามและหวั่นเกรง ต่อให้เป็นหนอนระดับคอทองแดง แต่ความหนาขนาด 700 หน้า ตัวหนังสือค่อนข้างเล็ก เพียงเท่านี้ก็ขู่ขวัญพออยู่แล้ว มิพักต้องขู่ซ้ำด้วยเนื้อหาปรัชญาและประวัติศาสตร์ยุคกลางที่แทรกอยู่ตลอดเรื่อง

-มวยปล้ำ ความฝัน และความเจ็บปวด-

รูปภาพ
วัยเด็กในยุคปลาย 80 ต่อ 90 และฐานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดี นัก การเช่าวีดิโอมวยปล้ำมาดูถื อเป็นโอกาสพิเศษอย่างหนึ่งข องผม แม่ชอบดุว่าดูอะไรรุนแรง ตอนนั้นผมก็ว่ามันรุนแรงจริ งนั่นแหละ เพาเวอร์ บอมบ์เอย ดีดีทีเอย เวอร์ติเคิ้ล ซูเพล็กซ์เอย คนถูกใส่ท่าพวกนี้ ถ้าไม่ตายก็คงสาหัส จำได้ว่าพยายามใส่ท่าดีดีที กับลูกจ้างที่บ้าน งง? ทำไมทำไม่ได้เหมือนในวืดิโอ ที่ดูเลย? มันต้องมีอะไรบ างอย่างผิดพลาดแน่ๆ เติบโตขึ้น ความสนใจก็แปรเปลี่ยนไปตามว ัย เริ่มรู้ว่ามวยปล้ำคือการโช ว์อย่างหนึ่งเพื่อหยิบยื่นค วามสนุก ความมัน ความสะใจ ให้คนดู การสับด้วยสันมือ ตีศอก และสารพัดท่า เขาไม่ได้ทำจริงๆ ซะหน่อย ลองไปดูท่าไพร์ ไดรเวอร์สิ คนทำเอาเข่าหนีบหัวคู่ปล้ำไ ว้ทั้งนั้นแหละ ขืนตอกลงพื้นไปจริงๆ ไม่ตายก็พิการ

-นี่ไม่ใช่หนังสือแนวมินิมอล-

รูปภาพ
อย่างน้อยก็ในความคิดผม ไม่แน่ใจว่าผมเป็นพวกมินิมอลลิสต์หรือแค่ประหยัดเฉยๆ ผมแทบไม่ซื้อสิ่งของเลย (ยกเว้นหนังสือที่ฟุ่มเฟือยมาก) ซื้อเฉพาะที่ต้องใช้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผมก็ชอบแนวคิดนี้ โดยเฉพาะหนังสือ 'อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป' ผมตีความว่าเอาเข้าจริงแล้ว การมีสิ่งของน้อยเป็นปลายทาง หัวใจของมันคือการตระหนักรู้ว่าอะไรที่สำคัญกับชีวิตเราจริงๆ และเลือกที่จะรักษามันไว้ ตอนที่เริ่มป่วยใหม่ๆ ผมโละสิ่งของด้วยการทิ้ง ให้ และบริจาคไปเยอะมาก แม้กระทั่งหนังสือ ห้องจึงโล่งขึ้นและช่วยเยียวยาได้บ้าง ตอนแรกผมซื้อหนังสือเล่มนี้ 'ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล' ด้วยความตื่นเต้น...แค่ตอนแรกนะ